Wednesday 12 September 2012

รู้หรือไม่ว่าเด็กที่มีอาการ “สมาธิสั้น” นั้นสามารถดูแลง่ายได้


ถ้าหากคุณเป็นผู้ปกครองท่านหนึ่งที่ลูกหลานในความปกครองมีอาการที่แสดงออกดังที่จะกล่าวต่อไปนี้มากกว่าหนึ่งอย่างขึ้นไป ยกตัวอย่างเช่น ซุกซนมากผิดปกติ ชอบเล่นปีนป่ายและไม่กลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น ไม่ใส่ใจในรายละเอียดของงานที่ทางโรงเรียนหรือทางผู้ปกครองมอบหมายให้ทำ เช่น การบ้าน การำกิจกรรมต่างๆ งานบ้าน ไม่ค่อยระวังและทำกิจกรรมกับเพื่อนๆได้ไม่นานก็จะมีความรู้สึกเบื่อแต่จะสนใจและให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งที่ชอบมากจริงๆจนกระทั่งไม่สนใจเรียกเรียกหรือบทสนทนาจากผู้ปกครอง,คุณครู, เพื่อนหรือบุคคลอื่นๆ

อาการเหล่านี้เป็นสัญญานที่บ่งบอกว่าลูกหลานในความปกครองของท่านกำลังอยู่ในภาวะของ “สมาธิสั้น” หรือ ภาวะเด็กสมาธิสั้นแต่ภาวะเหล่านี้ท่านผู้ปกครองสามารถดูแลและรับมือได้ด้วยตัวท่านเอง
และจากข้อมูลของภาวะสมาธิสั้น หรือ Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) นั้น เป็นอาการที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับวัยละมักจะเกิดขึ้นกับเด็กตั้งแต่วัยก่อน 7 ขวบ ยกตัวอย่างเช่นเด็กบางคนไม่มีสมาธิไม่มีความตั้งใจในการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ เป็นคนที่เบื่อง่ายหรือจะสนใจแต่สิ่งที่ตัวเองชอบเท่านั้น มักเป็นคนขี้ลืมสำหรับงานที่ต้องเป็นประจำ ไม่ชอบอยู่กับที่
อย่างไรก็ดีถ้าหากผู้ปกครองทราบว่าบุตรหลานของท่านมีภาวะของ “สมาธิสั้น” ทางผู้ปกครองสามารถดูและบุตรหลานของท่านได้
    •    ด้วยการจัดตารางเวลาที่แน่นอนเพราะเด็กในภาวะสมาธิสั้นนั้นหากยิ่งปล่อยปละละเลยจะเป็นเป็นการดีแน่ๆ
    •    อีกอย่างคือสร้างแรงจูงใจเพื่อนเป็นส่วนช่วยควบคุมภาวะสมาธิสั้นยกตัวอย่างเช่น การทำคะแนนเพื่อนำมาแลกของรางวัลเพราะเด็กเหล่านี้มักชอบความตื่นเต้นและท้าทายและชอบของรางวัล 
    •    จัดหาสถานที่ที่แน่นอนและเหมาะสมสำหรับการทำกิจกรรม เช่นมุมสงบ ไม่พลุกพล่าน ลดสิ่งที่ดึงดูดและเร้าใจที่มาจากเสียงและของเล่นต่างๆที่ดึงดูความสนใจของเด็ก
    •    ควรตั้งมาตราการสำหรับการลงโทษให้จัดเจนเพราะเมื่อเด็กทำผิดเราสามารถลงโทษด้วยการตัดคะแนน ทำเวรห้อง เก็บขยะในบริเวณบ้าน หรือโรงเรียน หรือให้ทิ่งบทสูตรตามความเหมาะสมแต่ไม่ควรลงโทษเด็กด้วยการเฆี่ยนตี
    •    บันทึกประจำวันก็สามารถช่วยได้ทางหนึ่งเพื่อนให้ท่านผู้ปกครองและคุณครูสามารถรับรูปัญหาและหาวิธีทางแก้ไขได้ในภายหน้า
แต่ถ้าหากจะพูดถึงปัจจัยที่สำคัญมากๆสำหรับเด็กแล้วความสัมพันธ์ภายในครอบครัวก็เป็นปัจจัยหลักปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยเยียวยาและเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กที่มีภาวะเกี่ยวกับสมาธิสั้น โดยการดูแลและเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ หากิจกรรมทำร่วมกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว.

หากท่านต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของเด็กสมาธิสั้น คลิกที่ลิ้งนี่ได้เลยค่ะ www.adbkk.com